วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง


บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

            การศึกษาการทำก้อนปลูกจากเปลือกส้มโอมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำก้อนปลูกและเพื่อทำการทดลองปลูกต้นไม้ผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังมีหัวข้อต่อไปนี้
                1. ส่วนประกอบของส้มโอ
                2. ความเป็นมาของก้อนเพาะปลูก
               
1.             ส่วนประกอบของส้มโอ
       ส้มโอเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง  เปลือกของส้มโอจะมีน้ำมันหอมระเหยเมื่อเราสูดหายใจเข้าไปจะกระตุ้นประสาทให้ตื่นตัว ช่วยคลายเครียด สรรพคุณ : ส้มโออุดมไปด้วยวิตามินซี และแร่ธาตุ  โปรตีนคาร์โบไฮเดรตช่วยบำรุงร่างกาย แคลเซียมช่วยบำรุงกระดุกและฟัน  เหล็ก ฟอสฟอรัสวิตามินบี 1 ช่วยในการย่อยอาหาร เสริมสร้างการทำงานของหัวใจวิตามินบี 2 ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเม็ดเลือด วิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน  ประโยชน์ : เปลือกส้มโอมีคุณสมบัติที่ทำให้ภาชนะที่ทำจากอลูมิเนียมดูเหมือนใหม่ โดยการนำเปลือกส้มโอมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มในน้ำเดือดประมาณ 20 นาที แล้วนำเปลือกส้มโอที่ต้มแล้ว มาขัดถูกับภาชนะพร้อมกับสบู่ ทำให้ภาชนะมีความใส เงางามเหมือนใหม่ (ที่มา :http://www.oknation.net/blog/lammai/2010/12/09/entry-1)      สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น นำไปกลบใต้ต้นไม้กลายเป็นปุ๋ยโดยไม่ต้องเน่าเสียไปเฉย ๆ หรือเปลือกทุเรียนสามารถนำไปตากแห้งเป็นเชื้อเพลิงได้ ส่วนเปลือกส้มโอก็เช่นเดียวกัน  คือ นำมาต้มทิ้งไว้สักพัก จากนั้นก็นำด้านในของเปลือกส้มโอ มาขัดถูกภาชนะพวกอลูมิเนียม ตะหลิว ทัพพี ฯลฯ ก็จะทำให้สิ่งของเหล่านั้น เป็นเงางามเหมือนใหม่อีกครั้ง
          เปลือกส้มโอส่วนที่มีสีขาวคือส่วนของเปลือกผลชั้นกลาง (mesocarp) มีชื่อเรียกว่า albedo และส่วนสีเขียวที่อยู่ภายนอกสุดคือเปลือกผลชั้นนอก (exocarp) มีชื่อเรียกว่า flavedo สารสำคัญที่พบในเปลือกส้มโอ (ทั้งส่วนที่เขียวและสีขาว) ส่วนใหญ่จะเป็นสารกลุ่มของน้ำมันหอมระเหย และสารกลุ่ม flavonoids เช่น naringenin, naringin, hesperetin, hesperidin, apigenin, poncirin และ eriocitin มีรายงานการวิจัยว่าสารสกัดเฮกเซนและสารสกัดเอทานอลของเปลือกส้มโอส่วนที่มีสีขาวมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในทางเดินอาหาร เช่น Bacillus cereus, B. subtilis, Listeria monocytogenes, Staphylococcus aureus, Escherichia coli  และ Salmonella typhimurium  สรรพคุณตามตำรายาไทยพบว่าเปลือกผลใช้เป็นยาขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้อึดอัด แน่นหน้าอก ไอ จุกแน่น ปวดท้องน้อย และยังไม่มีการศึกษาความเป็นพิษจากการรับประทานเปลือกผลส้มโอ(ที่มา :http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5694)
ทำการสกัดสารจากเปลือกส้มโอ (Citrus grandis, L. osbeck.) ทั้งส่วนสีเขียวและส่วนสีขาว 4 สายพันธุ์คือ พันธุ์ทองดี, ขาวแป้น, ขาวใหญ่ และปัตตาเวีย เพื่อหาสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C. cladosporioides สกัดโดยใช้เอทธานอล 95% และไดคลอโรมีเทน ทั้ง 4 สายพันธุ์ ไม่พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา สารสกัดจากเปลือกส้มโอส่วนที่มีสีเขียวที่สกัดโดยใช้เอทธานอล 95% ทั้ง 4 สายพันธุ์ ก็ไม่พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราเช่นกัน สารสกัดจากเปลือกส้มโอ ส่วนสีเขียวที่สกัดโดยใช้ไดคลอโรมีเทน สายพันธุ์ปัตตาเวีย ไม่พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา สายพันธุ์ขาวใหญ่ พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา 3 บริเวณ คือ Rf 0.80, 0.50 และ 0.30 สายพันธุ์ทองดีและขาวแป้น พบแถบสารที่สามารถายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา 3 บริเวณ ที่ตำแหน่งเดียวกันคือ Rf 0.70, 0.48 และ 0.33 สารสกัดจากเปลือกส้มโอ ส่วนสีเขียวพันธุ์ทองดี Rf 0.70 เมื่อนำไปหา minimum inhibitory concentration (MIC) พบว่าที่ค่าความเข้มข้นของสาร 99.25 ไมโครกรัม/ไมโครลิตร สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ จากการวิเคราะห์โครงสร้างของสารสกัดจากเปลือกส้มโอ ส่วนสีเขียวพันธุ์ทองดี โดยแกสโครมาโตกราฟีแมสสเปคโตรสโคปี (GC-MC), อินฟราเรดสเปคโตรสโคปี และอัลตราไวโอเลทสเปคโตรสปี พบว่าสารสกัด Rf 0.70, 0.48 และ 0.33 เป็นสารที่มีหมู่ฟังก์ชันของแอลกอฮอล์และเอสเทอร์ (-OH) (C=O) เป็นองค์ประกอบ(ที่มา :http://www.phtnet.org/research/view-abstract.asp?research_id=ag070)

2. ความเป็นมาของก้อนเพาะปลูก
 ก้อนเพาะปลูกมหัศจรรย์ วัสดุปลูกจากขุยมะพร้าวผสมหินบด แร่บดและสารอาหารของพืชนำมาอัดเป็นก้อนผ่านความร้อนสูง สะอาดไม่มีเชื้อราหรือต้องมากังวลกับวัชพืชซึ่งมักจะติดมากับดินถุงที่หาซื้อได้ทั่วไป ก้อนเพาะปลูกมหัศจรรย์ ก็คือขุยมะพร้าวที่อัดแน่นใช้แทนกระถาง อุดมไปด้วยสารอาหารสำหรับพืชพอเพียงยาวนานถึงกว่า 2 ปี ก้อนเพาะปลูกมหัศจรรย์ ใช้แทนกระถาง ไม่ง้อดินและปุ๋ยกรีนลาเต้ส์ได้มีโอกาสไปเดินชมงานเกษตรพอเพียงซึ่งจัดผ่านไปเร็วๆ นี้ ในงานมีสินค้าเกษตรและนวัตกรรมที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ของเกษตรกรตัวจริงมากมาย หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังกล่าวถึงคือ ก้อน เพาะปลูกมหัศจรรย์ เป็นงานวิจัยของคนไทยที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าใช้ได้จริง มีรางวัลมากมายเป็นตัวรับประกันถึงคุณภาพและคุณประโยชน์ที่มีต่อพืชก้อนเพาะปลูกที่ทำขึ้นด้วยขุยมะพร้าว มีส่วนผสมของหินบด แร่บดและสารอาหารจำเป็นของพืช นำมาอัดเป็นก้อนใช้แทนกระถาง มีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ตามขนาดของพืช ไม่มีเศษดินหกเลอะเทอะเวลารดน้ำทำให้เป็นที่นิยมนำไปใช้สำหรับเพาะปลูกในสถานที่ต่างๆ ทั้งภายในอาคารและภายนอก(ที่มา :http://www.greenlattes.com/green-design-ideas/green-garden-ideas/311-plant-with-coir-pot)

ก้อนปลูกมหัศจรรย์http://www.manager.co.th/images/blank.gif
 ผลงานดังกล่าวมาจากคนช่างคิดช่างทำ อย่าง “อรชุน แก้วกังวาล” กรรมการผู้จัดการบริษัท รุ้งสวรรค์ จำกัด ซึ่งบุกเบิกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 โดยพื้นฐานเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สาขาเทคโนโลยีการผลิตอุตสาหกรรม เคยทำงานอยู่ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ถึง 25 ปี ก่อนออกมาประกอบอาชีพส่วนตัว
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       เขา เล่าว่า รักการทำเกษตรมาก ในช่วงแรกขุดบ่อเลี้ยงปลาสวยงาม และทาบกิ่งต้นไม้ขายควบคู่กันไป ทว่า พบปัญหายุ่งยากเรื่องการดูแลต้นไม้ ที่ต้องคอยใส่ปุ๋ย พรวนดิน และรดน้ำต้นไม้ จุดนี่เองทำให้อยากหาวิธีที่จะดูแลต้นไม้ได้ง่ายๆ จึงทดลองทำก้อนเพาะปลูกต้นไม้ที่อยู่รอดและเติบโตได้เอง โดยไม่ต้องคอยใส่ปุ๋ยพรวนดิน ซึ่งกว่าจะสำเร็จใช้เวลากว่า 3 ปี กับทุนอีกหลักแสนบาท
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
   ปลูกต้นคุณนายตื่น  สายก้อนเพาะปลูกมหัศจรรย์ ทำจากวัสดุหลักประกอบด้วย ขุยมะพร้าว และหินบด-แร่บด ซึ่งประกอบไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นของต้นไม้กว่า 10 ชนิด โดยขั้นตอนผลิตเริ่มจากนำขุยมะพร้าวผสมหินบด-แร่บด นำไปอัดเป็นก้อน หลังจากนั้นนำมาฆ่าเชื้อ โดยผ่านความร้อนสูง เพื่อฆ่าเชื้อรา แล้วใส่บรรจุภัณฑ์
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
  ทั้งนี้ ก้อนเพาะที่ผ่านกระบวนการผลิตจะมีความโปร่งไม่แน่นตัว ทำให้รากต้นไม้สามารถกระจายได้ทั่วถึง รวมถึง ก้อนเพาะยังสามารถเก็บความชื้นได้นานและอุ้มน้ำได้ดี เมื่อถูกน้ำแล้วไม่ยุบตัวหรือเปื่อยยุ่ย สามารถนำไปปลูกพืชใต้น้ำได้ด้วย
     อรชุน อธิบายต่อว่า จากการทดลอง สามารถปลูกต้นไม้ได้กว่า 300 ชนิด เช่น กล้วยไม้ ตะบองเพชร ผักปลอดสารพิษ ไม้น้ำ ไม้ว่าน ฯลฯ ยกเว้นเฉพาะพืชที่มีระบบรากแรง เพราะรากจะเติบโตจนแทงทะลุทำให้ก้อนเพาะแตก สำหรับอายุใช้งานอย่างต่ำ 2 ปีโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเพิ่ม แต่พืชบางชนิด เช่น ตะบองเพชร จากวันแรกที่ทดลองปลูกถึงปัจจุบันกว่า 15 ปี ก็ยังอยู่รอดได้  สำหรับวิธีการปลูก เริ่มจากนำก้อนเพาะปลูกไปแช่ในน้ำ ประมาณ 2-24 ชม. จากนั้น ขุดหลุมบนก้อนเพาะปลูก เพื่อทำการปลูก ซึ่งทำได้หลากหลาย ทั้งเพาะเมล็ด ปักชำ หรือย้ายกล้ามาปลูก เป็นต้น ส่วนการดูแลแค่วางก้อนเพาะปลูกในพื้นที่ร่มหรือกลางแจ้งตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด จากนั้น รดน้ำดูแลตามปกติ หรือในกรณีไม่มีเวลารดน้ำ ให้วางแช่น้ำบนถาดรอง ก้อนเพาะจะดูดน้ำไปเลี้ยงลำต้นได้เอง โดยไม่ต้องคอยรดน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น