วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 1 บทนำ


บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
             เปลือกส้มโอ ส่วนที่มีสีขาวคือส่วนของเปลือกผลชั้นกลาง (mesocarp) มีชื่อเรียกว่า albedo และส่วนสีเขียวที่อยู่ภายนอกสุดคือเปลือกผลชั้นนอก (exocarp) มีชื่อเรียกว่า flavedo สารสำคัญที่พบในเปลือกส้มโอ (ทั้งส่วนที่เขียวและสีขาว) ส่วนใหญ่จะเป็นสารกลุ่มของน้ำมันหอมระเหย และสารกลุ่ม flavonoids เช่น naringenin, naringin, hesperetin, hesperidin, apigenin, poncirin และ eriocitin มีรายงานการวิจัยว่าสารสกัดเฮกเซนและสารสกัดเอทานอลของเปลือกส้มโอส่วนที่มีสีขาวมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในทางเดินอาหาร เช่น Bacillus cereus, B. subtilis, Listeria monocytogenes, Staphylococcus aureus, Escherichia coli  และ Salmonellatyphimurium  สรรพคุณตามตำรายาไทยพบว่าเปลือกผลใช้เป็นยาขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้อึดอัด แน่นหน้าอก ไอ จุกแน่น ปวดท้องน้อย และยังไม่มีการศึกษาความเป็นพิษจากการรับประทานเปลือกผลส้มโอ
ทำการสกัดสารจากเปลือกส้มโอ (Citrus grandis, L. osbeck.) ทั้งส่วนสีเขียวและส่วนสีขาว 4 สายพันธุ์คือ พันธุ์ทองดี, ขาวแป้น, ขาวใหญ่ และปัตตาเวีย เพื่อหาสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C. cladosporioides สกัดโดยใช้เอทธานอล 95% และไดคลอโรมีเทน ทั้ง 4 สายพันธุ์ ไม่พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา สารสกัดจากเปลือกส้มโอส่วนที่มีสีเขียวที่สกัดโดยใช้เอทธานอล 95% ทั้ง 4 สายพันธุ์ ก็ไม่พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราเช่นกัน สารสกัดจากเปลือกส้มโอ ส่วนสีเขียวที่สกัดโดยใช้ไดคลอโรมีเทน สายพันธุ์ปัตตาเวีย ไม่พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา สายพันธุ์ขาวใหญ่ พบแถบสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา 3 บริเวณ คือ Rf 0.80, 0.50 และ 0.30 สายพันธุ์ทองดีและขาวแป้น พบแถบสารที่สามารถายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา 3 บริเวณ ที่ตำแหน่งเดียวกันคือ Rf 0.70, 0.48 และ 0.33 สารสกัดจากเปลือกส้มโอ ส่วนสีเขียวพันธุ์ทองดี Rf 0.70 เมื่อนำไปหา minimum inhibitory concentration (MIC) พบว่าที่ค่าความเข้มข้นของสาร 99.25 ไมโครกรัม/ไมโครลิตร สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ จากการวิเคราะห์โครงสร้างของสารสกัดจากเปลือกส้มโอ ส่วนสีเขียวพันธุ์ทองดี โดยแกสโครมาโตกราฟีแมสสเปคโตรสโคปี (GC-MC), อินฟราเรดสเปคโตรสโคปี และอัลตราไวโอเลทสเปคโตรสปี พบว่าสารสกัด Rf 0.70, 0.48 และ 0.33 เป็นสารที่มีหมู่ฟังก์ชันของแอลกอฮอล์และเอสเทอร์ (-OH) (C=O) เป็นองค์ประกอบ
เปลือกผลไม้หลายชนิด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น นำไปกลบใต้ต้นไม้กลายเป็นปุ๋ย โดยไม่ต้องเน่าเสียไปเฉย ๆ หรือเปลือกทุเรียนสามารถนำไปตากแห้งเป็นเชื้อเพลิงได้ ส่วนเปลือกส้มโอก็เช่นเดียวกัน(ที่มา : http://blog.eduzones.com/wanwan/14709)
“ก้อนเพาะปลูกมหัศจรรย์” วัสดุปลูกจากขุยมะพร้าวผสมหินบด แร่บดและสารอาหารของพืชนำมาอัดเป็นก้อนผ่านความร้อนสูง สะอาดไม่มีเชื้อราหรือต้องมากังวลกับวัชพืชซึ่งมักจะติดมากับดินถุงที่หาซื้อได้ทั่วไป ก้อนเพาะปลูกมหัศจรรย์ ก็คือขุยมะพร้าวที่อัดแน่นใช้แทนกระถาง อุดมไปด้วยสารอาหารสำหรับพืชพอเพียงยาวนานถึงกว่า 2 ปี...ก้อนเพาะปลูกมหัศจรรย์ ใช้แทนกระถาง ไม่ง้อดินและปุ๋ยกรีนลาเต้ส์ได้มีโอกาสไปเดินชมงานเกษตรพอเพียงซึ่งจัดผ่านไปเร็วๆ นี้ ในงานมีสินค้าเกษตรและนวัตกรรมที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ของเกษตรกรตัวจริงมากมาย หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังกล่าวถึงคือ ก้อน เพาะปลูกมหัศจรรย์ เป็นงานวิจัยของคนไทยที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าใช้ได้จริง มีรางวัลมากมายเป็นตัวรับประกันถึงคุณภาพและคุณประโยชน์ที่มีต่อพืช ก้อนเพาะปลูกที่ทำขึ้นด้วยขุยมะพร้าว มีส่วนผสมของหินบด แร่บดและสารอาหารจำเป็นของพืช นำมาอัดเป็นก้อนใช้แทนกระถาง มีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ตามขนาดของพืช ไม่มีเศษดินหกเลอะเทอะเวลารดน้ำทำให้เป็นที่นิยมนำไปใช้สำหรับเพาะปลูกในสถานที่ต่างๆ ทั้งภายในอาคารและภายนอก(ที่มา : http://www.greenlattes.com/green-design-ideas/green-garden-ideas/311-plant-with-coir-pot)
เนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจได้มีการขยายเติบโตขึ้นจึงเกิดเป็นชุมชนเมืองขึ้นมากมาย คนในชุมชนเมืองจึงไม่สามารถปลูกพืชได้ตามความต้องการ เนื่องจากไม่มีพื้นที่ในการปลูกต้นไม้
กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาการทำก้อนปลูกขึ้นมา เพื่อต้องงการที่จะศึกษาวิธีการทำก้อนปลูก และได้เลือกวัสดุในการทำก้อนปลูกที่สำคัญ คือ เปลือกส้มโอ เพราะมีแร่ธาตุ และวิตามิน ที่พืชต้องการ

วัตถุประสงค์
                การศึกษาการทำก้อนปลูกมหัศจรรย์จากเปลือกส้มโอครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้

                1. เพื่อศึกษาการทำก้อนปลูกจากเปลือกส้มโอ
                2. เพื่อศึกษาผลการปลูกต้นไม้จากก้อนปลูกจากเปลือกส้มโอ
ขอบเขตของการศึกษา
1.ด้านระยะเวลา
               
1 สิงหาคม – 9 กันยายน 2555 รวมระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และทดลองทั้งหมด 40 วัน
2.ด้านเนื้อหา
                ในการศึกษาทดลองโครงงานนี้มุ่งศึกษาการทำก้อนปลูกจากเปลือกส้มโอ เพื่อนำมาทดลองปลูกต้นไม้จากการใช้ก้อนปลูกจากเปลือกส้มโอ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1. มีการงอกและเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ปลูกจากก้อนปลูกจากเปลือกส้มโอ
                2. เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา ค้นคว้า และทดลอง ขั้นตอนในการทดลองการทำก้อนปลูกจากเปลือกส้มโอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น